วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 2.2 ให้นิสิตบันทึกภาพหรือวีดีโอ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรมมา 2 กิจกรรม

ความหมายของประเพณีสงกรานต์


          สงกรานต์  เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทินในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2431 หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
          สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
          พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ขอบคุณแหล่งที่มา
...................................................................................................................................................................

กิจกรรมที่ 1 ไหว้พระทำบุญวันสงกรานต์

1. องค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรม
  จากกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เรารู้ว่าในประเพณีสงกรานต์หรือปีใหม่ของไทย การเข้าวัดทำบุญเป็นสิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีน้อยมากที่วันสงกรานต์จะเข้าวัดทำบุญ โดยเฉพาะวัยรุ่นพอถึงวันสงกรานต์ก็คงเข้าใจว่าเป็นการสาดน้ำใส่กันเพื่อความสนุกสนาน จนลืมไปว่าในอดีตนั้นการเข้าวัดทำบุญก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในวันสงกรานต์ หลังจากที่ผมได้เข้าไปร่วมกิจกรรมนี้แล้วทำให้รู้สึกว่า การไหว้พระขอพรในวันปีใหม่ไทยเป็นอะไรที่ดีมากๆ เพราะได้เริ่มทำสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ในปีใหม่ทิ้งสิ่งไม่ดีไว้ในปีเก่า แล้วเริ่มทำแต่สิ่งดีๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลของตนเองและครอบครัว
2. กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนตรงตามกลุ่มสาระใด
  กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพราะ กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นการทำนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรมของชาวไทย ที่มักจะเข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาหรือในเทศกาลต่างๆ และในที่นี้เป็นวันสงกรานต์ปีใหม่ของไทย คนส่วนใหญ่รวมถึงผมก็เข้าวัดทำบุญเพื่อจะได้เจอแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตตลอดทั้งปีและต่อไป
_________________________________________________________________________________

กิจกรรมที่ 2 วันไหลบางแสน

1. องค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรม
  ประเพณีก่อเจดีย์พระทรายวันไหลบางแสน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตของชาวบางแสน จัดต่อเนื่องจากวันสงกรานต์เพื่อเป็นการปลูกฝังในเด็กสมัยปัจจุบัน หันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และรักษาประเพณีนี้สืบไป เจดีย์พระทรายในรูปไม่ใช่ฝีมือของผมที่ได้ทำขึ้นมา เป็นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งผมเห็นว่าเป็นของมหาวิทยาลัยก็แสดงว่าวัยรุ่นอย่างผม ก็ช่วยกันรักษาประเพณีก่อพระทรายไว้อย่างต่อเนื่องเข้าร่วมกิจกรรมของทางบางแสน และหลังจากนั้นก็เป็นการเล่นน้ำสงกรานต์ของวัยรุ่นเพื่อเป็นการคลายร้อนในช่วงซัมเมอร์นี้
2. กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนตรงตามกลุ่มสาระใด
  กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม/กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เพราะ การก่อเจดีย์พระทรายเป็นทั้งสังคมเนื่องจากเป็นการรักษาประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต และการออกแบบก็ต้องใช้การจินตนาการซึ่งต้องใช้หลักทางศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น