1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
แหล่งอ้างอิง : คลิกเพื่อไปที่หน้าเว็บ |
นายธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด)
ประวัติ
ธงไชย แมคอินไตย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ที่ย่านบางแค ฝั่งธนบุรี มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "อัลเบิร์ต แมคอินไตย์" (Albert McIntyre) เป็นบุตรคนที่ 9 ในจำนวนพี่น้อง 10 ของเจมส์ (จิมมี่) แมคอินไตย์ นายแพทย์ลูกครึ่งสกอต-มอญ และนางอุดม แมคอินไตย์ เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดนิมมานรดี ระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ ที่วิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี
ภายหลังจบการศึกษา เริ่มทำงานที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาท่าพระ ฝ่ายต่างประเทศ หลังจากนั้นมีโอกาสเข้าวงการบันเทิงโดยการชักชวนของไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา ละครเรื่องแรก "น้ำตาลไหม้" ทางช่อง 3 ปี พ.ศ. 2526 และเข้าร่วมการประกวดร้องเพลงของสยามกลการ ปี พ.ศ. 2527 ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนั้น 3 รางวัล ในยามว่างได้รับแสดงละครต่อเนื่องอีกหลายเรื่อง และตัดสินใจลาออกจากธนาคาร ประกอบกับ คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ผู้บริหารในการประกวดสยามกลการ ที่ให้โอกาสเบิร์ดออกโดยไม่ต้องรอให้ครบสัญญา ซึ่งเรวัต พุทธินันทน์ได้ชักชวนเข้าสู่วงการเพลงโดยมีอัลบั้มแรก "หาดทราย สายลม สองเรา" ปี พ.ศ. 2529 เป็นการก้าวเข้าสู่วงการเพลงอย่างเต็มตัวในสังกัดบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ผลงาน
1. ละคร
2. ภาพยนตร์
3. พิธีกร นักพากย์ ผู้บรรยาย
4. โฆษณา
5. ผลงานเพลง
5.1 เพลงเทิดพระเกียรติ
5.2 เพลงพิเศษ
5.3 ซิงเกิล
5.4 อัลบั้มเต็ม
5.5 อัลบั้มพิเศษ
6. คอนเสิร์ต
6.1 คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์
6.2 คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ
6.3 คอนเสิร์ตพิเศษอื่นๆ
_________________________________________________________________________________
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งอ้างอิง : คลิกเพื่อไปที่หน้าเว็บ |
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
สภาพภูมิอากาศ
ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า
_________________________________________________________________________________
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
แหล่งที่มา : คลิกเพื่อไปที่หน้าเว็บ |
คอมพิวเตอร์ (Computer)
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
_________________________________________________________________________________
4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
แหล่งที่มา : คลิกเพื่อไปที่หน้าเว็บ |
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
อยู่ที่ กม.24 ถนนพหลโยธิน ดอนเมือง กองทัพอากาศได้เริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยมุ่งหมายรวบรวมยุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ทุกประเภทตามยุคตามสมัยเป็นลำดับ จัดแสดงเพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง เดิมจัดแสดงอยู่ที่โรงเก็บเครื่องบิน ด้านทิศตะวันตะตกของสนามบินดอนเมือง แต่ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเมื่อรวบรวมพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้น จึงทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2502 ต่อมากองทัพอากาศไจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2511 และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2512 เป็นต้นมา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 - 16.00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมอากศยานที่ปลดประจำการแล้วไว้หลายแบบซึ่งหาดู ได้ยาก อาทิ เครื่องบินขับไล่แบบที่ 10 (ฮอว์ค 3) เครื่องฝึกแบบที่6 (ทาชิกาวา) เครื่องบินแบบ ทอ.5 กองทัพอากาศสร้างและทดลองบินเป็นผลสำเร็จ เป็นต้น บางแบบเคยเข้าร่วมปกป้องอธิปไตยจนนักบินได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญมา หลายท่าน เช่น เครื่องบินโจมตีแบบที่ 1 (คอร์แซร์) รบในสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 2 (บริพัตร) เป็นต้น และกองทัพอากาศยังได้ปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติของกองทัพอากาศต่อไป
_________________________________________________________________________________
5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา : คลิกเพื่อไปที่หน้าเว็บ |
วิกิพีเดีย (Wikipedia
วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 25 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.1 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 285 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์ คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิงเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนวคิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้องใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และโซล เกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น